วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 .

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
ขั้นนำ.....
- อาจารย์สอบถามเกี่ยวกับเรื่องบล็อค
-อาจารย์พูดเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนกันในวันนี้ ว่าวันนี้ จะเรียนเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ว่ามีทั้งหมด 4 สาระการเรียนรู้

ขั้นการสอน....
- อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น และให้นักศึกษาวาดภาพสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาตามจินตนาของตนเองและให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่ตนเองวาด
สรุปจากเรื่องนี้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการจับคู่ เช่นจับคู่รองเท้าที่ได้ใส่ให้ปู และเรื่องจำนวบนับ เช่น การนับขาปู

- จากนั้นอาจารย์ก็สอนเนื้อหาเกี่ยวกับหัวข้อสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 เรื่องจำนวนและการดำเนินการ
สรุปจากเรื่องนี้ การที่เราจะสอนเด็กควรนำสิ่งใกล้ตัวเด็ก และควรให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติและตัดสินใจเล่นด้วยตนเองโดยอิสระ

- จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับคู่สองคนทำกิจกรรมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ 1
                                             
                                    

ขั้นสรุป.....
สรุปจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้  ทำให้รู้ว่าในการที่เราจะจัดกิจกรรมให้เด็กนั้นเราควรจัดแบบบูรณาการ  และควรปลูกฝั่งให้เด็กมีประสบการณ์ในการเรียนรู้มากที่สุด โดยตัวเด็กมีอิสระในการเด็กมีอิสระในการเลือกทำกิจกรรม

-ในท้ายคาบอาจารย์ได้มีเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามั่วเชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน
เข้าแถวพลันว่องไว้

เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาในท่ายืนตรง

เพลงซ้าย ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยุ่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลงพาเรดตัวเลข
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 และก็10
ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย ชูมือขึ้นข้างบน
หมุยมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (ซ้ำ)
การนำไปประยุกต์ใช้ :
  นำไปจัดกิจกรรมให้เก็บเด็กได้หลายรูปแบบโดย ในการที่เราจะจัดกิจกรรมนั้นควรมีเพลงเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจในกิจกรรม และกิจกรรมแต่ละกิจกรรมต้องเป็นแบบบูรณาการ และพัฒนาเด็กได้ในทุกๆด้าน

การประเมินผล :
ตนเอง : จากที่ได้เรียนเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้เรื่องจำนวนและการดำเนินการทำให้ได้รู้วิธีการจัดกิจกรรมในหลายๆรูปแบบ  แต่ต้องไปฝึกหัดร้องเพลงให้เสียงสูงกว่านี้
เพื่อน : เพื่อนแต่ละคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมวันนี้เป็นอย่างดี และมีรูปแบบการนำเสนองานที่หลากหลายและเป็นที่น่าสนใจ
อาจารย์ : อาจารย์การสอนที่ดีมีเทคนิคและมีสื่ออุปกรณืที่ดีมาให้นักศึกษาได้ลงมือคิดและออกแบบกิจกรรม และนบางครั้งก็มีคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปจากเรื่อง : การใช้หุ่นมือ - Early Years : Using Puppets
            จากที่ดิฉันได้ดูทรทัศน์ครู ทำให้ได้รู้ว่า
ปฐมวัยมีความสนุกสนานในการนำหุ่นกระบอกมาใช้ โดยสามารถนำมาใช้ได้หลายวิธี โดยครูผู้สอนเริ่มจากแนะนำให้นักเรียนในชั้นได้รู้จักหุ่นกระบอกก่อน  ผู้สอนจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับหุ่นกระบอกให้ดี หรือฝึกหน้ากระจกก่อนนำไปสอนเด็ก ๆ
             และดิฉันได้เห็นปฏิกิริยาของเด็ก ๆ ที่มีต่อหุ่นกระบอกที่ครูนำไปแสดงที่โรงเรียนเซนต์จอห์นเฟิร์สทเป็นครั้งแรก จากนั้นจะได้เห็นหุ่นกระบอกที่ขาดทักษะด้านการนับเลข และต้องการให้เด็ก ๆ ช่วยสอนวิธีนับ นี้ถือเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะสอนเด็ก
            หุ่นกระบอกถือเป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นทักษะด้านสุขศึกษา โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ เช่น การใช้ผ้าเช็ดหน้า การไม่เข้าไปขัดจังหวะ หรือทำรุนแรงต่อผู้อื่น รวมทั้งการพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ จินตนาการ และการสื่อสาร 

การนำไปประยุกต์ใช้
- การใช้หุ่นมือมาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนเป็นเรื่องดีมาก เพราะใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนทำให้เด็กกล้าแสดงออก และมีความสนใจในการทำกิจกรรม ดังนั้นในการจัดกิจกรรมเราควรที่จะประดิษฐ์สื่อให้ดีและดึงดูงความสนใจให้เด็กรู้สึกอยากเล่น
- ก
ารใช้หุ่นมือมาช่วยในการเรียน การเล่านิทาน หรือกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กได้รับพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน จากการที่ดูวิดีโอไปแล้ว เราสามารถนำไปปฎิบัติ หรือนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริง
- การจัดกิจกรรมการ
ใช้หุ่นมือบูรณาการเรียนการสอนได้ทุกเรื่อง เช่นคณิตศาสตร์การใช้ชีวิตประจำวัน
- การใช้หุ่นมือสามารถนำไปเป็นขั้นนำก่อนการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้ดีเลย เพราะหุ่นมือถือเป็นสื่อและตัวกระตุ้นทำให้เกิดเกิดการอยากรู้อยากเห็นอยากที่จะสัมผัส การที่เด็กอยากนี้ถือเป็นกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กได้ดี

สรุปบทความ

สรุปบทความ

ชื่อบทความ : เทคนิคการสอนลูกให้เก่งเลข ง่ายนิดเดียว
 โดย : คุณพ่อธีร์

หลักการที่คุณพ่อธีร์ได้นำมาใช้กับเด็ก คือ
- การสอนให้เด็กเข้าใจ และสนุกกับตัวเลข  ถือเป็นหน้าที่สำคัญ
- การจะทำให้เด็กชอบเลข จินตนาการต้องมาก่อนการเรียนรู้
- ให้เด็กรู้จักสัญลักษณ์ของตัวเลข สอนให้นับ 1-10
- สอนให้รู้จักจำนวน สอนเขียนตัวเลขโดยไม่จับดินสอ
- สุดท้ายค่อย ๆ เพิ่มความซับซ้อนของเนื้อหาตามความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก

ตัวอย่างกิจกรรมหลักที่พ่อธีร์ใช้มี 4 อย่าง คือ
- การทายลูกปัด สอนให้ลูกรู้จักจำนวนเพิ่ม -ลด แล้วให้ลูกทาย
- การนับเลขปากเปล่า  เป็นกิจกรรมนับเลขเร็วโดยต้องมีการจับเวลาให้ลูกนับไม่เกิน 1 นาที
- วางเบี้ย ฝึกให้เด็กใช้สายตาและการสัมผัสและรู้ตำแหน่งตัวเลข
- เขียนเลข เพราะประสาทส่วนใหญ่อยู่ที่มือ

การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมใช้กับเด็กได้จริงและสามารถแตกความคิดและบูรณาการกิจกรรมให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาเด็กในด้านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
- ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราเราไม่ควรที่จำเป้นต้องใช้เวลานานเกินไป แค่เวลาน้อย แต่ทำให้เด็กสนุกและเข้าใจในกิจกรรมนั้นก็ถือได้ว่าเด็กได้รับการเรียนรู้แล้ว
- หากกิจกกรรมนี้ไปใช้กับเด็กเล็กอาจจะใช้ได้บางกิจกรรมดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ โดยเราสามารถเป็นผู้กำหนดและวางแผน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน
- ทำให้รู้ว่าครูและพ่อแม่คือสิ่งสำคัญในการที่จะพัฒนากระบวนการทางความคิดของเด็ก ดังน้เราควรที่จะส่งเสริมในสิ่งที่เด็กชอบ หากเด็กไปในทางลบก็ก็แนะนำ หากไปทางบวกเราก็ส่งเสริม
- สื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการเด็กอย่างหนึ่ง ดังนั้ควรเลือกสื่อที่มีสีสันสดใสสวยงาม จะทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการที่จะอยากเข้าไปจับไปเล่น

สรุปงานวิจัย


สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย  การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
Construction of picture books for preparing mathematics readiness of preschoolers

ผู้ทำการวิจัย  กัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์
บทที่ 1 บทนํา      
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา

    จากความสําคัญของคณิตศาสตร์ หนังสือ และสภาพปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นครูที่สอนในระดับปฐมวัย ได้มองเห็นปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กชั้นอนุบาลในภาคเรียนที่ผ่านมา ซึ่งการเรียนแบบท่องจําไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ดังนั้นหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จึงเป็นสื่อกึ่งรูปธรรม ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนา และเตรียมความพร้อมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เด็กได้ดียิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียน บ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูนขึ้นเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยความสนใจสนุกสนาน เพลิดเพลิน เกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่คงทน มีความแม่นยําใน การเชื่อมโยงกันระหว่างตัวเลขและจํานวน รู้จักค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพราะการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในระดับปฐมวัย มีความสําคัญเป็นอย่างมาก หากเด็กมีพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยที่ไม่ดี ก็จะทําให้เด็กไม่รู้จักตัวเลขและไม่รู้ค่าของตัวเลข ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป โดยหนังสือภาพทั้ง 10 เล่มนี้ จะเป็นเครื่องมือสําคัญในการช่วยวางรากฐานให้เด็กได้มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 09 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
3. ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ
 ขอบเขตของการศึกษา
1. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เนื้อหา เนื้อหาที่นํามาสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 09 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม
2. ได้แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 0 - 9 สําหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 12 แผน 
3. ได้แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0- 9 จํานวน 10 ชุด
4. ได้แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด
5. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่า ของตัวเลข 09 สําหรับเด็กปฐมวัย

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    การศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษา และค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารและตําราต่างๆ พร้อมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้คือ
1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
2. ความหมายของคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
3. ความมุ่งหมาย จดมุ่งหมาย และทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
4. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา
5. หลักการสอนคณิตศาสตร์ 
6. การวัดและประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
7. ความรู้เกี่ยวกับหนังสือสําหรับเด็ก
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
        สรุปได้ว่า การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กนั้น จะต้องอาศัยปัจจัยหลายๆประการที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความเข้าใจที่คงทน เช่น การเอาใจใส่ของครูผู้สอน ครูมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการวัดผลและประเมินผล บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อประกอบการเรียนการสอนที่เด็กสนใจ และสามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ดังนั้นการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีส่วนสําคัญที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ซึ่งการสร้างหนังสือภาพ จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เพราะเด็กปฐมวัยยังอ่านหนังสือไม่ได้จึงชอบอ่านหนังสือที่เป็นหนังสือภาพ และภาพที่ใช้ในการสร้างหนังสือก็เป็นภาพที่เด็กรู้จักและคุ้นเคยในชีวิตประจําวันอยู่แล้ว จึงสามารถช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เกี่ยวกับการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ผ่านภาพประกอบและตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในหนังสือได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้เด็กได้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจะช่วยทําให้ครูทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็กต่อสิ่งนั้นๆว่า เด็กมีความคิดเห็นอยู่ในระดับใด

บทที่ 3
วิธีดําเนินการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมทางคณิตศาสตร์ สําหรับเด็กปฐมวัย โดยกําหนดขั้นตอนในการดําเนินการดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย
เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กําลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษา
2.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่
2.2. แผนการจัดประสบการณ์
 เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน
2.3. แบบทดสอบความพร้
อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
2.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่
อหนังสือภาพ จำนวน 1 ชุ
 3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 
3.1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
3.2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ม
3.3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน10 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยลักษณะของแบบทดสอบ มี 5 แบบ คือ โยงเส้นจับคู่จํานวนกับตัวเลข นับภาพและวงกลมตัวเลข ระบายสีภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข นับภาพแล้วเติมตัวเลข และวาดภาพใหม่จํานวนเท่ากับตัวเลข
3.4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด
ความคิดเห็น มาก มีค่
าระดับ 3
ความคิดเห็น ปานกลาง มีค่
าระดับ 2
ความคิดเห็น น้
อย มีค่าระดับ 1
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
 
4.1. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการดําเนินกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดําเนินไปอย่างราบรื่น
4.2. ดําเนินการทดลอง โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 12 แผน
4.3. เมื่อผู้ศึกษาทําการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณจนครบทั้ง 12 แผนและให้เด็กปฐมวัยทำแบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์จนครบทั้งหมด 10 ชุดแล้ว จึงให้เด็กตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ โดยผู้ศึกษาจะเป็นผู้อ่านคําถามแต่ละข้อให้เด็กฟังแล้วให้เด็กทําการตอบคําถามโดยการเช็คเครื่องหมายถูกลงในช่องคะแนนที่กําหนดให้
5. การวิเคราะห์ข้อมูล

5.1. นําคะแนนที่ได้
จากการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ แล้วนําผลที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน จากนั้นนําเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการบรรยาย
5.2. นําคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนําคะแนนที่ได้ในแต่ละข้อมาหาค่าเฉลี่ย แล้วนํามาเทียบกับเกณฑ์การแปลผ
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

6.1. การหาค่าความตรง (Validity) ดัชนีความสอคล้อง (เครื่องมือ) นวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติ IOC

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0
9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ นักเรียนมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าตัวเลข 0 - 9 ซึ่งทุกคนผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนที่กําหนดไว้
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาพทั้งสามด้านในภาพรวมอยูในระดับความคิดเห็นมาก โดยนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ด้านรูปแบบของหนังสือ ประกอบด้วย ขนาดของหนังสือ ความแข็งแรงของอยู่ในระดับมาก ด้านตัวเลข ประกอบด้วย ขนาดของตัวเลข รูปแบบของตัวเลข อยู่ในระดับมาก ด้านรูปภาพ ประกอบด้วย ขนาดของภาพ สีสันของภาพ รูปแบบของภาพ ความน่าสนใจของภาพ รูปภาพสามารถสื่อความหมายถึงตัวเลขได้ รูปภาพสอดคล้องกับสิ่งที่เห็นในชีวิตประจําวัน อยู่ในระดับมาก

บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
       การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 -9 สําหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการเตรียม ความพร้อมทางคณิตศาสตร์หลังใช้หนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต 2 จํานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่
1. หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จํานวน 10 เล่ม
2. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัยประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ จํานวน 12 แผน แผนละ 60 นาที
3. แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพจํานวน 10 ชุด
4. แบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ จํานวน 1 ชุด
สรุปผลการศึกษา
1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย จํานวน 10 เล่ม
2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ ปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จํานวน 18 คน โดยรวม อยู่ในระดับ มาก
อภิปรายผล
        การศึกษาครั้งนี้ เป็นการสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0
9 ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียนบ้านแม่ลาน หลังเรียนนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กําหนดไว้ร้อยละ 60.00 โดยมีคะแนนร้อยละ 93.39


การนำไปประยุกต์ใช้
      จากที่ดิฉันได้อ่านงานวิจัยและสรุปผลแล้ว เราสามารถนำงานวิจัยที่ศึกษานี้ไปใช้ได้จริงโดยเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย เราสามารถนำผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ไปการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย ควรคํานึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคลของเด็ก ควรจัดหาสื่ออุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด และความเข้าใจ 

ที่คงทน 
     งานวิจัยนี้ยังเป็นแนวทางในการสอนให้กับผู้อ่านได้นำไปปรับใช้กับรูปแบบการจัดกิจกรรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภายภาคหน้าได้ และสร้างหนังสือที่เหมาะกับเด็กอีกด้วย
   

เรียนครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.10 

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 -ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
:การนับ สามารถนับทุกอย่างให้รู้ค่าและจำนวน
ตัวเลข  ควรเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม
จับคู่ ทำให้เด็กได้สังเกตคู่เหมือน ประเภทเดียวกัน
การจัดประเภท ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆ ว่าสิ่งของมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เปรียบเทียบ ต้องสืบเสาะหาความสัมพันธ์ของสิ่งของทั้งสองสิ่ง
การจัดลำดับ จัดสิ่งของชุดหนึ่งตามกฎ เช่น ต่ำไปหาสูงรูปทรงและเนื้อที่ จัดให้เด็กเรียนรูปกับรูปทรง เช่น วงกลม สามเหลี่ยม
การวัด ให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง รู้จักความยาวและระยะทาง ก่อนที่จะวัดควรให้เด็กฝึกฝนการเปรียบเทียบ และจัดลำดับก่อน
อาจารย์ได้สอนในเรื่องเทคนิคในการสอนเด็ก ว่าเราควรใช้ให้เหมาะสม โดยการจัดกิจกรรมและควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก และสอนแบบบูรณาการ เรื่องๆเดียวสามารถบูรณาการได้หลายกิจกรรม

-กิจกรรมในวันนี้                                     
                                                              กิจกรรมที่ 1 เรื่องเค้ก
       สรุปความรู้ทางคณิตศาสตร์จากเรื่องเค้ก : ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งเค้ก รูปทรง ราคา(จำนวน) ขนาด สี ส่วนผสม วัด เทียน (อายุ)


กิจกรรมที่ 
การทำหนังสือเล่มเล็ก
สรุปความรู้ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับสมุดเล่มเล็ก : ในการที่เราทำสมุดเล่มเล็กที่เกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ ทำให้รู้ว่าในการที่เราอยากให้เด็กมีส่วนร่วมเราก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของเด็กทุกคน เราไม่ควรไปดูถูกความคิดของเด็ก เพราะหากเราไปบันถอน เด็กคนนั้นก็จะไม่กล้าพูด  กล้าตอบและเด็กจะไม่เกิดองค์ความรู้      


กิจกรรมที่ 
เพลง
                                                                                                                
เพลงสวัสดียามเช้า : ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                    กินอาหารของดีมีทั่ว       หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
                    สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ        ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                    หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลาหลั่นล้า
สรุปจากเพลงนี้ : ได้รู้เกี่ยวกับเวลา เรียงลำดับเหตุการณ์

เพลงสวัสดีคุณครู : สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
                   ยามเช้าเรามาโรงเรียน หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
สรุปจากเพลงนี้ : การทักทายของครูกับนักเรียน

เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน : หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
                           หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

แต่งเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ :
  เด็กดี เด็กดี เด็กดี นับเลขดีดี นับให้ดังๆ ผู้คนมากมายเสียจัง นับเลขดังๆ นับให้ดีดี1 2 3 4 5 6 7 8 9 แล้วก็ 10

กิจกรรมที่ เกณฑ์การแบ่ง

 สรุปจากกิจกรรมนี้ : เกณฑ์คือเวลา 08.00 ทำให้รู้ เวลา จำนวนนับ เรียงลำดับ เลขฐาน10 การบวกเลข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

กิจกรรมที่ แบ่งกลุ่มกำหนดเกณฑ์

สรุปจากกิจกรรมนี้ : การที่แบ่งกลุ่มแล้วให้แต่ละคนยิบสิ่งของที่ตนมีมาคนละ 1ชิ้น แล้วมากำหนดเกณฑ์ การทำกิจกรรมแบบนี้ ทำให้เด็กมีประสบการณ์และได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้รู้จักรูปทรงของสิงของ ขนาด ราคา การแบ่งแยกของแต่ละชนิด
-สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้เป็น Mapping





การนำไปประยุกต์ใช้ : สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้จริงในการทำกิจกรรม และเทคนิคการสอนของอาจารย์ สามารถนำไปปรับใช้และบูรณาการให้แตกไปได้อีกหลายกิจกรรม

การประเมินผล :
ตนเอง : วันนี้มีบางจังหวะที่ง่วงนอนแต่พออาจารย์ได้นำกิจกรรมเพลงเข้ามาเสริมก็ทำให้รู้สึกตื่นและอยากทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนภายในชั้นเรียน
เพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือและสนใจเรียน แต่มีบางช่วงที่เกิดการคุยกัน หรือเป็นเหตุมาจากเวลาเรียนนานไปรึเปล่า เพราะตั้งแต่ 08.30.จนถึง 12.20น.นานเกิน
อาจารย์ : อาจารย์มีกลวิธีในการสอนที่ดีมาก เพราเอานักศึกษาอยู่ และสร้างแรงจูงใจโดยการนำเพลงมาให้นักศึกษาทำกิจกรรมแก้อาการง่วงซึม



วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.35 น. เวลาเข้าเรียน 07.50 น. เวลาเลิกเรียน 12.10 .

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ : 
- วันนี้อาจารย์พูดถึงกระบวนการสอนในการใช้กับเด็กทางคณิตศาสตร์ พูดถึงตัวเลขว่าสามารถใช้ในชีวิตประจำวันเราในเรื่องอะไร ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น โดย ตัวเลขมี 350, 158 ,60 ,50 ,4915481 

จากนั้นอาจารย์ก็ได้มีการเฉลยคำตอบ.....350  คือเลขที่บ้าน /158  คือส่วนสูง / 60   คือน้ำหนัก  / 50 คืออายุ / 4915481คือเบอร์โทรศัพท์


- คณิตศาสตร์สื่อได้หลายอย่าง
: การคำนวณ 
: ค่าแทนเงิน
: การเปรียบเทียบ
: การแก้ปัญหา
: สัญลักษณ์ ลำดับ                                                 

- ความหมายของคณิตศาสตร์ :
มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันวิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์เด็กจะใช้คณิตจากการคิดของตนแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ

- ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ : เป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กรู้จักปัญหามีความสามารถในการคิดคำนวณอื่นๆ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การรู้จักสังเกต เปลี่ยนการจัดหมวดหมู่ การเพิ่มขึ้นและการลดลง ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับง่ายไปหายาก ช่วยให้เด็กคิด ทำความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ

- แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ :

1.ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุ ขอบข่ายของเนื้อหาวิธีการสอนวิธีการจัดกิจกรรม

2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อจัดกิจกรรมสอดคล้องกับพัฒนาการความต้องการ

3.สื่อการเรียนที่เด็กสามารถ จับต้องได้ให้เพียงพอโดยใช้ของจริงของจำลองรูปภาพจากสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กคุ้นเคย

4.จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน

5.เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ได้ลงมือกระทำ ได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่โดยมีครูดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา

6.ฝึกให้เด็กได้คิดแก้ปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นคว้าเหตุผล

7.จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง

8.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้านเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
9.จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์
- ช่วงท้ายคาบอาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มสรุปเนื้อหาเป็น Mind Map

ผลงานกลุ่มการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย



การประยุกต์ใช้ :
- สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้จริงและเหมาะสม
- จากที่ได้เรียนเรื่องตัวเลขสามารถนำตัวเลขไปสอนเด็กได้ โดยหาตัวเลขที่ง่ายๆและเหมาะสมกับเด็กเพื่อให้เด็กสามารถได้ตอบได้ (โดยการตอบคำถามของเด็กจะมาจากประสบการณ์เดิมที่เดิมเคยได้เรียนรู้มา)
- สามารถนำทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น
- ทำให้เราได้รู้ว่าการที่เราจะสอนเด็กเราต้องศึกษาพัฒนาการของเด็กว่าช่วงอายุไหนควรมีพัฒนาการเป็นแบบใด จะทำให้เราได้จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ตรงตามความต้องการของเด็ก

การประเมินผล :
ตนเอง  วันนี้ได้ร่วมตอบคำถามอาจารย์เป็นอย่างดี แต่มีบางจังหวะที่ไม่เข้าใจในเทคนิคการสอนของอาจารย์และได้มีการซักถามพูดคุยจนเกิดความเข้าใจในเนื้อหานั้นอย่างแจ่มแจ้ง
เพื่อน : วันนี้เพื่อนบางคนไม่ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นภายในการทำกิจกรรมกลุ่ม
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคในการซักถามนักศึกษา โดยการตั้งคำถาม เพื่อที่จะได้รวบรวมว่านักศึกษายังขาดความรู้ด้านใดบ้างและอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ

เรียนครั้งที่1

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 .

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ :
- อาจารย์ได้นำรายละเอียดของแนวการเรียนการสอน พร้อมทั้งมีการบรรยายไปทีละขั้นตอน และได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถาม
- อาจารย์ได้แนะนำแนวทางในการบันทึกอนุทิน เพื่อบันทึกหลังการเรียนทุกครั้ง
- ข้อตกลงในชั้นเรียน
สรุปองค์ความรู้เดิมโดยใช้โปรแกรม Mind Map



การประยุกต์ใช้ :
- สามารถนำความรู้ที่ได้จากแนวการสอนไปปรับใช้กับเด็กได้
- จากที่ได้รู้แนวการเรียนการสอน ทำให้สามารถไปเตรียมความพร้อม และรู้ว่าต้องเตรียมตัวเรียนอย่างไร
- จากแนวการเรียนการสอนทำให้ได้รู้ว่าในรายวิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาอะไรบ้าง ทำให้เราสามารถอาจไปศึกษามาก่อนได้
- จากที่ได้ฝึกสรุปองค์ความรู้ด้วย Mind Map ทำให้เป็นบุคคลที่สรุปเป็นเพื่อไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นได้

กาาประเมินผล : 
ตนเอง : วันนี้มีความพร้อมที่จะเรียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ และมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งเวลาอาจารญืพูด และชอบในการที่ได้ตอบและซักถามพูดคุยกับอาจารย์
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆร่วมกลุ่มได้มีความตั้งใจที่จะเรียนอย่างแท้จริง
อาจารย์ : อาจารย์ได้แนะนำแนวการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ทำให้นักศึกษาได้ไปเตรียมความพร้อมว่าในรายวิชานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง