วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.25 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.

ขั้นนำ 
1.ทบทวนเนื้อหาทางคณิตศาสตร์

                                   


2.ทบทวนสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นำไปจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
สาระที่
1 จำนวนและการดำเนินการ
การนับ เช่น นับเพิ่ม ลด ในปฏิทิน นับเลขฐานสิบ โดยอาจใช้หลอด พอนับถึงสิบแล้ว และมัดไว้เพื่อเริ่มใหม่
การเรียงลำดับ เช่น การเข้าแถวของเด็ก
สาระที
2 การวัด
วัดเพื่อหาค่า  การวัดต้องมีเครื่องมือ
สาระที่
3 เรขาคณิต
รูปทรง รูปร่างต่างๆ และทิศทาง
สาระที่
4 พีชคณิต ต้องมีแม่แบบ
สาระที่
5 การวิเคราะห์ข้อมูลละความน่าจะเป็น
การอ่านแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่
6 กระบวนการ
ควรเริ่มจากรูปธรรมก่อนคือให้เด็กลงมือปฏิบัติ  จากนั้นค่อยขยับมาเป็นนามธรรม
ขั้นสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผ่นพับของกลุ่มตนเองมานำเสนอเพื่อรับคำแนะนำ
                                                             
                                                                           กลุ่ม
คำแนะนำ ควรใช้คำที่ง่ายกว่านี้ และปรับบทสนทนาของแม่กับลูกเรื่องการนับ
                                                                             
                                                                           กลุ่ม
2
คำแนะนำ ปรับปรุงเรื่องของสาระการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องนำมาหมด
นับมาแต่สิ่งที่เราจะแนะนำผู้ปกครอง 


กลุ่ม 3
คำแนะนำ เรื่องของสี ไม่จำเป็นต้องใส่
สีพื้นหลังเข้มจนเกินไป เนื่องจากอาจอ่านไม่ออก
กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อคู่
ขั้นตอนการดำเนินการ
การประดิษฐ์ลูกเต๋า




 
 



 

                               


การประดิษฐ์แผ่นเขาวงกต

  


การนำไปใช้กับเด็ก





สิ่งที่เด็กได้รับจากการทำกิจกรรมนี้
1.พัฒนาการสังเกตของเด็กและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2.พัฒนาประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตาในการทำกิจกรรม
3.หากเล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม
4. เด็กได้เรียนรู้ค่าจำนวนนับ  1-6
5.เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงของลูกเต๋า
6.เข้าใจสัญลักษณ์ในการดำเนินการ
7.เรียนรู้ขนาดน้ำหนักของลูกเต๋า
ขั้นสรุป
การนำไปประยุกต์ใช้
   จากที่ได้คิดกิจกรรมและนำไปใช้กับเด็กสามารถพัฒนาเด็กได้หลายๆด้าน และรู้ถึงพัฒนาการของเด็กว่าแต่ละคนมีพัฒนาการและความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน เด็กที่มีอายุน้อยสามารถเล่นได้แต่ยังไม่สามารถคิดเป็นนามธรรมได้แต่เด็กที่โตขึ้นมาหน่อยจะคิดเป็นเชิงเหตุผล และบอกวิธีการเล่นได้ ดังนั้นจึงทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าสื่อแต่ละชนิดที่เราจะนำไปใช้กับเด็กเราควรดูที่พัฒนาการและตัวบ่งชี้พฤติกรรมเด็กแต่ละช่วงอายุ
การประเมิน
ตนเอง
: วันนี้มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้ ในการนำสาระการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมกับเด็ก
เพื่อน
: วันนี้เพื่อนแต่ละคนรู้สึกง่วงและคงเหนื่อยกับการเรียนแต่มีบางกลุ่มที่สนใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์
อาจารย์
:
มีการให้คำแนะนำในการทำแผ่นพับเพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นอย่างดี ทำให้เรานำไปปรับใช้ได้จริงๆในอนาคตเพื่อให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการสอนและดูแลเด็กร่วมกัน

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.

กิจกรรมวันนี้ : การสอบกลางภาค

โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
1.คณิตศาสตร์ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทักษะพื้นฐาน
2.การจัดประสบการณ์ บทบาทครู ผู้ปกครอง จุดมุ่งหมาย
3.พัฒนาการของเด็ก หลักการ
กิจกรรม
   
ให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรมของหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้ในแต่ละวัน  และทำแผ่นพับ เพื่อนำไปแจกให้กับผู้ปกครอง

เค้าาโครงรูปแบบการทำแผ่นพับ
หน้าหนึ่ง ปก
หน้าสอง ประโยชน์ และโทษของไก่
หน้าสาม เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์
หน้าสี่ กิจกรรมประจำวันเกี่ยวกับการนับเลข
หน้าห้า ข้อเสนอแนะ
หน้าหก รายชื่อผู้จัดทำ

การนำไปประยุกต์ใช้
     จากที่ได้ฝึกทำ MYMAPPING และแผ่นพับทำให้ข้าพเจ้ามีวิธีการคิดการทำงานต่างๆอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และได้ฝึกฝีมือเพื่อนำไปใช้จริงๆในอนาคตวิชาชีพครูอย่างแท้จริง


การประเมินผล
ตนเอง : วันนี้มีเทคนิคในการคิดเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขี้น  และรู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนการสอน

เพื่อน: เพื่อแต่ลละคนมีความคิดและความรู้ที่เก่งและโดดเด่นกันคนละด้าน และตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
อาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือให้นักศคกษาคิดเป็นและให้ศึกษาตนเองและอาจารย์ค่อยให้คำแนะนำ

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ขั้นนำ : อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่เรียนอาทิตย์ที่แล้ว

ขั้นสอน: ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนและอาจารย์จะค่อยให้คำแนะนำ
กลุ่มที่ 2 เรื่องไข่
- การที่เราจะพูดคำคล้องจอง ครูควรพูดให้ฟัง 1 รอบและให้เด็กพูดตาม  แต่ในตอนที่เด็กพูดเราควรจะมีการเขียนหรือวาดภาพเพื่อให้เด็กเข้าใจและจำได้ง่าย
- ในการสอนเราไม่ควรที่จะหันหลังให้เด็กเพราะเด็กไม่นั่งอยู่กับที่แน่นอนหากเราไม่หาอะไรมาจูงใจ
- ในการเปรียบเทียบไข่ควรเปรียบสิ่งที่ใหญ่กับเล็กก่อนและค่อยนำไข่ขนาดกลางมาเปรียบ

กลุ่มที่ 3
เรื่องไก่

- ในการใช้คำถามประสบการณ์เด็กหรือถามอะไร เราไม่ควรบอกคำตอบเด็กและให้เด็กตอบตามคำตอบนั้นเพราะเด็กจะไม่เกิดกระบวนการคิด
- ในการทำวงกลม
การใส่เนื้อหาในวงกลมเราต้องงใส่เนื้อหาที่เหมือนกันก่อน
- สิ่งที่เด็กตอบเราควรเขียนให้หมด เพราะเด็กอาจน้อยใจหรือเสียใจว่าตอบไปแล้วครูไม่สนใจในคำตอบเขา แต่หากเด็กตอบซ้ำกันเราควรบอกเด็กด้วยคำพูดเชิงบวก 
                                                                                      

กลุ่มที่ 4 เรื่องไก่
- ในขั้นนำในการเล่านิทานเราอาจใช้เพลงหรือคำคล้องจ้องก่อนก็ได้
- ในเนื้อหานิทานหากเราแทรกเพลงหรืออะไรที่ทำให้เด็กสนใจเราอาจแทรกเข้าไปในนิทานได้เช่น แม่ไก่ออกไข่ เราอาจนำเพลงแม่ไก่ออกไข่วันละฟอง

       

กลุ่มที่ 5 เรื่องไก่
- วีดีโอที่เราจะนำมาให้เด็กดูไม่ควรยาวมาก เพราะเด็กอาจเบื่อ
- คำคล้องจองถ้าสั้นเราไม่จำเป็นต้องเขียนใส่กระดาษเพราะมันสินเปลือง
- ในการพูดเนื้อหาต้องพูดให้สอดคล้องกับวีดีโอที่นำมาให้เด็กดู

ขั้นสรุป :
1.หลังจากที่สอบสอนแล้วให้นักศึกษาลองไปสอบสอนและอัดวีดีโอมา
2.อาจารย์บอกกำหนดการส่งงาน โดยมีงาานดังนี้ แผนเดียว แผนกลุ่ม CDสอบสอนแต่ละคน
การนำไปประยุกต์ใช้ :
   จากที่ได้ฝึกสอบสอนเป็นกลุ่และฝึกเขียนแผนทำให้นำไปปรับใช้ในการเขียนแผนในรายวิชาอื่นๆได้ เพราะรูปแบบการเขียนแผนคล้ายๆกัน

การประเมินผล :
ตนเอง : วันนี้มีความสนใจในการนำเสนอการสอนของเพลงแต่ละกลุ่ม และในตอนนำเสนอสอบสอนของกลุ่มตนเองก็มีเทคนนิคในการใช้คำถามและสรุปได้บ้าง

เพื่อน : เพื่อนทุกคนมีเทคนิคการสอนที่ดีและก็มีบางคนที่ต้องปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์

อาจารย์ : อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีให้กับแต่ละกลุ่มแต่บางที่ความคิดของอาจารย์กับนักศึกษาก็แต่ต่างกันไปดังนั้นอาจารย์ควรที่จะฟัง ความคิดเห็นของนักศึกษาก่อนไม่ควรขัดในบางจังหวะ