วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.25 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.

ขั้นนำ 
1.ทบทวนเนื้อหาทางคณิตศาสตร์

                                   


2.ทบทวนสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นำไปจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
สาระที่
1 จำนวนและการดำเนินการ
การนับ เช่น นับเพิ่ม ลด ในปฏิทิน นับเลขฐานสิบ โดยอาจใช้หลอด พอนับถึงสิบแล้ว และมัดไว้เพื่อเริ่มใหม่
การเรียงลำดับ เช่น การเข้าแถวของเด็ก
สาระที
2 การวัด
วัดเพื่อหาค่า  การวัดต้องมีเครื่องมือ
สาระที่
3 เรขาคณิต
รูปทรง รูปร่างต่างๆ และทิศทาง
สาระที่
4 พีชคณิต ต้องมีแม่แบบ
สาระที่
5 การวิเคราะห์ข้อมูลละความน่าจะเป็น
การอ่านแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่
6 กระบวนการ
ควรเริ่มจากรูปธรรมก่อนคือให้เด็กลงมือปฏิบัติ  จากนั้นค่อยขยับมาเป็นนามธรรม
ขั้นสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผ่นพับของกลุ่มตนเองมานำเสนอเพื่อรับคำแนะนำ
                                                             
                                                                           กลุ่ม
คำแนะนำ ควรใช้คำที่ง่ายกว่านี้ และปรับบทสนทนาของแม่กับลูกเรื่องการนับ
                                                                             
                                                                           กลุ่ม
2
คำแนะนำ ปรับปรุงเรื่องของสาระการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องนำมาหมด
นับมาแต่สิ่งที่เราจะแนะนำผู้ปกครอง 


กลุ่ม 3
คำแนะนำ เรื่องของสี ไม่จำเป็นต้องใส่
สีพื้นหลังเข้มจนเกินไป เนื่องจากอาจอ่านไม่ออก
กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อคู่
ขั้นตอนการดำเนินการ
การประดิษฐ์ลูกเต๋า




 
 



 

                               


การประดิษฐ์แผ่นเขาวงกต

  


การนำไปใช้กับเด็ก





สิ่งที่เด็กได้รับจากการทำกิจกรรมนี้
1.พัฒนาการสังเกตของเด็กและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2.พัฒนาประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตาในการทำกิจกรรม
3.หากเล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม
4. เด็กได้เรียนรู้ค่าจำนวนนับ  1-6
5.เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงของลูกเต๋า
6.เข้าใจสัญลักษณ์ในการดำเนินการ
7.เรียนรู้ขนาดน้ำหนักของลูกเต๋า
ขั้นสรุป
การนำไปประยุกต์ใช้
   จากที่ได้คิดกิจกรรมและนำไปใช้กับเด็กสามารถพัฒนาเด็กได้หลายๆด้าน และรู้ถึงพัฒนาการของเด็กว่าแต่ละคนมีพัฒนาการและความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน เด็กที่มีอายุน้อยสามารถเล่นได้แต่ยังไม่สามารถคิดเป็นนามธรรมได้แต่เด็กที่โตขึ้นมาหน่อยจะคิดเป็นเชิงเหตุผล และบอกวิธีการเล่นได้ ดังนั้นจึงทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าสื่อแต่ละชนิดที่เราจะนำไปใช้กับเด็กเราควรดูที่พัฒนาการและตัวบ่งชี้พฤติกรรมเด็กแต่ละช่วงอายุ
การประเมิน
ตนเอง
: วันนี้มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้ ในการนำสาระการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมกับเด็ก
เพื่อน
: วันนี้เพื่อนแต่ละคนรู้สึกง่วงและคงเหนื่อยกับการเรียนแต่มีบางกลุ่มที่สนใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์
อาจารย์
:
มีการให้คำแนะนำในการทำแผ่นพับเพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นอย่างดี ทำให้เรานำไปปรับใช้ได้จริงๆในอนาคตเพื่อให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการสอนและดูแลเด็กร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น