วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.25 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.

ขั้นนำ 
1.ทบทวนเนื้อหาทางคณิตศาสตร์

                                   


2.ทบทวนสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์นำไปจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
สาระที่
1 จำนวนและการดำเนินการ
การนับ เช่น นับเพิ่ม ลด ในปฏิทิน นับเลขฐานสิบ โดยอาจใช้หลอด พอนับถึงสิบแล้ว และมัดไว้เพื่อเริ่มใหม่
การเรียงลำดับ เช่น การเข้าแถวของเด็ก
สาระที
2 การวัด
วัดเพื่อหาค่า  การวัดต้องมีเครื่องมือ
สาระที่
3 เรขาคณิต
รูปทรง รูปร่างต่างๆ และทิศทาง
สาระที่
4 พีชคณิต ต้องมีแม่แบบ
สาระที่
5 การวิเคราะห์ข้อมูลละความน่าจะเป็น
การอ่านแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่
6 กระบวนการ
ควรเริ่มจากรูปธรรมก่อนคือให้เด็กลงมือปฏิบัติ  จากนั้นค่อยขยับมาเป็นนามธรรม
ขั้นสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผ่นพับของกลุ่มตนเองมานำเสนอเพื่อรับคำแนะนำ
                                                             
                                                                           กลุ่ม
คำแนะนำ ควรใช้คำที่ง่ายกว่านี้ และปรับบทสนทนาของแม่กับลูกเรื่องการนับ
                                                                             
                                                                           กลุ่ม
2
คำแนะนำ ปรับปรุงเรื่องของสาระการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องนำมาหมด
นับมาแต่สิ่งที่เราจะแนะนำผู้ปกครอง 


กลุ่ม 3
คำแนะนำ เรื่องของสี ไม่จำเป็นต้องใส่
สีพื้นหลังเข้มจนเกินไป เนื่องจากอาจอ่านไม่ออก
กิจกรรมการประดิษฐ์สื่อคู่
ขั้นตอนการดำเนินการ
การประดิษฐ์ลูกเต๋า




 
 



 

                               


การประดิษฐ์แผ่นเขาวงกต

  


การนำไปใช้กับเด็ก





สิ่งที่เด็กได้รับจากการทำกิจกรรมนี้
1.พัฒนาการสังเกตของเด็กและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2.พัฒนาประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตาในการทำกิจกรรม
3.หากเล่นเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม
4. เด็กได้เรียนรู้ค่าจำนวนนับ  1-6
5.เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงของลูกเต๋า
6.เข้าใจสัญลักษณ์ในการดำเนินการ
7.เรียนรู้ขนาดน้ำหนักของลูกเต๋า
ขั้นสรุป
การนำไปประยุกต์ใช้
   จากที่ได้คิดกิจกรรมและนำไปใช้กับเด็กสามารถพัฒนาเด็กได้หลายๆด้าน และรู้ถึงพัฒนาการของเด็กว่าแต่ละคนมีพัฒนาการและความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน เด็กที่มีอายุน้อยสามารถเล่นได้แต่ยังไม่สามารถคิดเป็นนามธรรมได้แต่เด็กที่โตขึ้นมาหน่อยจะคิดเป็นเชิงเหตุผล และบอกวิธีการเล่นได้ ดังนั้นจึงทำให้ข้าพเจ้ารู้ว่าสื่อแต่ละชนิดที่เราจะนำไปใช้กับเด็กเราควรดูที่พัฒนาการและตัวบ่งชี้พฤติกรรมเด็กแต่ละช่วงอายุ
การประเมิน
ตนเอง
: วันนี้มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้ ในการนำสาระการเรียนรู้ไปจัดกิจกรรมกับเด็ก
เพื่อน
: วันนี้เพื่อนแต่ละคนรู้สึกง่วงและคงเหนื่อยกับการเรียนแต่มีบางกลุ่มที่สนใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์
อาจารย์
:
มีการให้คำแนะนำในการทำแผ่นพับเพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นอย่างดี ทำให้เรานำไปปรับใช้ได้จริงๆในอนาคตเพื่อให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการสอนและดูแลเด็กร่วมกัน

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.

กิจกรรมวันนี้ : การสอบกลางภาค

โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
1.คณิตศาสตร์ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทักษะพื้นฐาน
2.การจัดประสบการณ์ บทบาทครู ผู้ปกครอง จุดมุ่งหมาย
3.พัฒนาการของเด็ก หลักการ
กิจกรรม
   
ให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรมของหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้ในแต่ละวัน  และทำแผ่นพับ เพื่อนำไปแจกให้กับผู้ปกครอง

เค้าาโครงรูปแบบการทำแผ่นพับ
หน้าหนึ่ง ปก
หน้าสอง ประโยชน์ และโทษของไก่
หน้าสาม เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์
หน้าสี่ กิจกรรมประจำวันเกี่ยวกับการนับเลข
หน้าห้า ข้อเสนอแนะ
หน้าหก รายชื่อผู้จัดทำ

การนำไปประยุกต์ใช้
     จากที่ได้ฝึกทำ MYMAPPING และแผ่นพับทำให้ข้าพเจ้ามีวิธีการคิดการทำงานต่างๆอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และได้ฝึกฝีมือเพื่อนำไปใช้จริงๆในอนาคตวิชาชีพครูอย่างแท้จริง


การประเมินผล
ตนเอง : วันนี้มีเทคนิคในการคิดเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขี้น  และรู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนการสอน

เพื่อน: เพื่อแต่ลละคนมีความคิดและความรู้ที่เก่งและโดดเด่นกันคนละด้าน และตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
อาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคการสอนคือให้นักศคกษาคิดเป็นและให้ศึกษาตนเองและอาจารย์ค่อยให้คำแนะนำ

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ขั้นนำ : อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่เรียนอาทิตย์ที่แล้ว

ขั้นสอน: ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนและอาจารย์จะค่อยให้คำแนะนำ
กลุ่มที่ 2 เรื่องไข่
- การที่เราจะพูดคำคล้องจอง ครูควรพูดให้ฟัง 1 รอบและให้เด็กพูดตาม  แต่ในตอนที่เด็กพูดเราควรจะมีการเขียนหรือวาดภาพเพื่อให้เด็กเข้าใจและจำได้ง่าย
- ในการสอนเราไม่ควรที่จะหันหลังให้เด็กเพราะเด็กไม่นั่งอยู่กับที่แน่นอนหากเราไม่หาอะไรมาจูงใจ
- ในการเปรียบเทียบไข่ควรเปรียบสิ่งที่ใหญ่กับเล็กก่อนและค่อยนำไข่ขนาดกลางมาเปรียบ

กลุ่มที่ 3
เรื่องไก่

- ในการใช้คำถามประสบการณ์เด็กหรือถามอะไร เราไม่ควรบอกคำตอบเด็กและให้เด็กตอบตามคำตอบนั้นเพราะเด็กจะไม่เกิดกระบวนการคิด
- ในการทำวงกลม
การใส่เนื้อหาในวงกลมเราต้องงใส่เนื้อหาที่เหมือนกันก่อน
- สิ่งที่เด็กตอบเราควรเขียนให้หมด เพราะเด็กอาจน้อยใจหรือเสียใจว่าตอบไปแล้วครูไม่สนใจในคำตอบเขา แต่หากเด็กตอบซ้ำกันเราควรบอกเด็กด้วยคำพูดเชิงบวก 
                                                                                      

กลุ่มที่ 4 เรื่องไก่
- ในขั้นนำในการเล่านิทานเราอาจใช้เพลงหรือคำคล้องจ้องก่อนก็ได้
- ในเนื้อหานิทานหากเราแทรกเพลงหรืออะไรที่ทำให้เด็กสนใจเราอาจแทรกเข้าไปในนิทานได้เช่น แม่ไก่ออกไข่ เราอาจนำเพลงแม่ไก่ออกไข่วันละฟอง

       

กลุ่มที่ 5 เรื่องไก่
- วีดีโอที่เราจะนำมาให้เด็กดูไม่ควรยาวมาก เพราะเด็กอาจเบื่อ
- คำคล้องจองถ้าสั้นเราไม่จำเป็นต้องเขียนใส่กระดาษเพราะมันสินเปลือง
- ในการพูดเนื้อหาต้องพูดให้สอดคล้องกับวีดีโอที่นำมาให้เด็กดู

ขั้นสรุป :
1.หลังจากที่สอบสอนแล้วให้นักศึกษาลองไปสอบสอนและอัดวีดีโอมา
2.อาจารย์บอกกำหนดการส่งงาน โดยมีงาานดังนี้ แผนเดียว แผนกลุ่ม CDสอบสอนแต่ละคน
การนำไปประยุกต์ใช้ :
   จากที่ได้ฝึกสอบสอนเป็นกลุ่และฝึกเขียนแผนทำให้นำไปปรับใช้ในการเขียนแผนในรายวิชาอื่นๆได้ เพราะรูปแบบการเขียนแผนคล้ายๆกัน

การประเมินผล :
ตนเอง : วันนี้มีความสนใจในการนำเสนอการสอนของเพลงแต่ละกลุ่ม และในตอนนำเสนอสอบสอนของกลุ่มตนเองก็มีเทคนนิคในการใช้คำถามและสรุปได้บ้าง

เพื่อน : เพื่อนทุกคนมีเทคนิคการสอนที่ดีและก็มีบางคนที่ต้องปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์

อาจารย์ : อาจารย์มีคำแนะนำที่ดีให้กับแต่ละกลุ่มแต่บางที่ความคิดของอาจารย์กับนักศึกษาก็แต่ต่างกันไปดังนั้นอาจารย์ควรที่จะฟัง ความคิดเห็นของนักศึกษาก่อนไม่ควรขัดในบางจังหวะ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 11.45 น.

กิจกรรมที่ 1 สอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนกลุ่มที่ 1
 

สรุปแผนการสอนเรื่องชนิดของไก่
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมชวนคิดโดยใช้ไม้ขีดไฟ

สิ่งที่ได้จากกิจกรรม คือ การรู้จักคิดและแก้ป้ญหา
ในการเปลี่ยนแปลงไม่ขีดให้เป็นรูปทรงรูปร่างต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้ : จากที่ได้ศึกษาดูเพื่อนกลุ่มที่ 1 สอบสอน ทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการรียนการสอนเรื่องหน่วยไก่ได้ และจากกิจกรรมไม้ขีดไฟชวนคิด สามารถนำมาฝึกพัฒนาทักษะในการคิดของสมองได้เป็นอย่างดี

การประเมินผล :
ตนเอง : จากที่ได้ร่วมรับฟังและทำกิจกรรมต่างๆในวันนี้ ถือว่าร่วมทำกิจกรรมได้ดีโดยเฉพาะในกิจกรรมไม้ขีดไฟชวนคิด ข้าพเจ้าสามารถคิดได้เร็วอย่างเป็นระบบในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี

เพื่อน : วันนี้เพื่อนแต่ละคนมีพัฒนาการทางความคิดที่แตกต่างกันบ้างคนคิดเร็ว บางคนคิดช้า บางคนคิดเป็นระบบ และบางคนคิดแบบเดาสุ่ม

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมพัฒนาสมองที่ดีมาฝึกทักษะความคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมอย่างมีความสุข

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.45 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

อาจารย์ให้คิดสื่อที่เอาไว้ให้เด็กเล่นเองพร้อมออกมานำเสนอสื่อของตนเอง :

 กิจกรรม : กลิ้ง กลิ้ง กลิ้งมหาสนุก....

วัตถุประสงค์ :
1.เด็กได้รู้เรื่องจำนวนนับ
2.เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจในสัญลักษณ์
3.เด็กได้รู้เรื่องรูปร่างงรูปทรงต่างๆ

การดำเนินกิจกรรม : เด็กสามาารถนำลูกเต๋ามาโยนหรือเขย่าอย่างไรก็ได้ตาามจินตนาการของเด็กแต่ละคน จากนั้นนำไปจับคู่หรือเดินบนตารางที่มีให้ กิจกรรมนี้สามารถเล่นได้ตั้งแต่คนเดียว หรือหากตั้งการสนุกสามารถเล่นร่วมกันได้ทั้งกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเพื่อนความสนุก

อุปกรณ์ในการทำสื่อ :
ลูกเต๋า
1.เศษผ้า
2.ใยสังเคราะห์
ตาราง
1.แผ่นกระดาษ หรือกล่องกระดาษ
2.สีตกแต่ง
3.ฝาปีโป้สำหรับใช้เดิน
  
คำแนะนำในการทำสื่อ : ในการที่เราจะสร้างสื่อแต่ละชิ้นต้องกำหนดจุดประสงค์ตามสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน และสื่อที่ใช้ควรทำจากวัสดุเหลือใช้        

กิจกรรมต่อมาคือกิจกรรมการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
วัตถุประสงค์ เป้าหมายหรือพฤติกรรมที่เราต้องการให้เกิดเมื่อเด็กทำกิจกรรมมครบตามระยะเวลาที่ผู้สอนวางแผนไวว้ ทั้งนี้ควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการเด็กและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สาระการเรียนรู้
1.สาระที่าควรรุู้ เป็นสาระที่ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตรของสถานศึกษา
2.ประสบการณ์สำคัญ เป็นประสบการณ์ที่คาดว่าจะเกิดกับเด็ก
กิจกรรมการเรียนรู้ การดำเนินกิจกรรมหรือขั้นตอนการสอนต่างๆที่ครูกำหนดขึ้น
การวัดและประเมินผล ระบุบว่าประเมินโดยวิธีใดแต่ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์

การนำไปประยุกต์ใช้  : จากที่ได้คิดสื่อการเรียนเพื่อให้เด็กเล่นเองทำให้รู้ว่าวัสดุเหลือใช้หรือที่มีในท้องถิ่นเรานั้นมีประโยชน์ทุกอย่าง และจากการทดลองเขียนแผนการสอนทำให้ได้ฝึกและนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับการเรียนการสอนได้จริงๆ


การประเมิน :
ตนเอง : วันนี้รู้สึกสับสนกับการฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถที่จะคิดและคิดกิจกรรมได้
เพื่อน : เพื่อนแต่ละคนมีความคิดในกิจกรรมที่แตกต่างและหลากหลาย สามารถทำให้เราสามารถนำกิจกรรมหรือสื่อการสอนที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ได้จริงๆ
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีคำแนะนำในการเขียนแผนโดยละเอียดสามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นและแนะนำเทคนิคการผลิตสื่อการสอน

           

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.40 น. เวลาเข้าเรียน 08.25 น. เวลาเลิกเรียน 12.10 น.

ขั้นนำ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายจากสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
        กลุ่มที่ 1 เรื่องการวัด ได้นำเสนอเกี่ยวกับการวัดหาค่า น้ำหนัก ส่วนสูง ความยาว ปริมาตร เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์จากค่าที่เราหาได้ เช่น  เมตร เซนติเมตร วา ศอก คืบ พร้อมทั้งเครื่องมือในการวัดเช่น ไม้เมตร ตลับเมตร ไม้บรรทัด ดังนั้นการที่เราจะสอนเด็กนั้นควรสอนจากรูปธรรมให้เด็กเห็นและลงมือปฎิบัติก่อน ที่จะไปสอนเรื่องนามธรรม
       กลุ่มที่ 2 เรื่องสาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น กลุ่มนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรม กล่องนมหรรษา โดยจะให้เด็กเลือกกล่องนม ที่ทั้งรสหวาน จืด และให้นำมาวิเคราะห์เป็นแผนภูมิว่าเด็กชอบกินนมรสไหนมากที่สุด

       กลุ่มที่ 3 เรื่องเรขาคณิต จะนำสิ่งี่อยู่รอบๆตัวเด็กและมีผลกระทบต่อเด็ก เพราะสิ่งรอบๆตัวเราทุกอย่างมีทั้งรูปร่างและรูปทรง หากเรานำสิ่งที่ยากเกินไปหรือเน้น เรื่่องใดเรื่องหนึ่งเด็กอาจจะเกิดการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสม
       กลุ่มที่ 4 เรื่องพีชคณิต เรื่องมาฝึกสมองกันเถอะ โดยจะให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้แบบรูป โดยในการจัดกิจกรรมเราจะมีรูปทรงทางคณิตศาสตร์จัดแบบรูปมาให้เด็ก และให้เด็กตอบคำถาม
       กลุ่มที่ 5 สาระทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  จะเน้นเรื่องการใช้สัญลักษณ์ การแก้ปัญหา และการเชื่อมโยงทุกๆสาระ เข้ากันจนเกิดเป็นความรู้


ขั้นปฏิบัติ ให้นักศึกษาจักลุ่มและทำกิจกรรมโดยให้เลือกมากลุ่มละ 1 หน่วย และนำมาเขียนเป็น My Mapping

ตัวอย่างการทำ MyMapping
ผลงานของแต่ละกลุ่มโดยสรุป


หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่

หน่วย ไก่

หน่วย ไข่

หน่วย ส้ม

การนำไปประยุกต์ใน : สามารถนำสาระการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยของเพื่อนแตกละกลุ่มไปปรับใช้ในการสอนได้จริง และสามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณืทางคณิตศาสตร์

การประเมินผล :
ตนเอง : วัดนี้จากที่ได้ทำกิจกรรมสามารถทำให้รู้ว่าตนเองก็มีความสามารถในกล้าแสดงความคิดเห็นการคิดหน่วยและการแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน
เพื่อน : เพื่อนแต่ละคนวันนี้มีความกล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้นและความคิดของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน แต่ก็ยังมีเพื่อนบางคนที่ไม่พูดไม่คุยเงียบ และคุยกับเพื่อนอย่างเดียวทำให้รบกวนเพื่อนส่วนมากที่กำลังตั้งใจเรียนกัน
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยการให้นักศึกษาระดมความคิด ให้เกกิดเป็นความรู้และมีเทคนิและวิธีการสอนในการที่จะเริ่มการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก




วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันพฤหัสบดี ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.45 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.00 น.
 
ขั้นนำ : ทบทวนเรื่องสาระทางคณิตศาสตร์มีทั้งหมด 6 สาระการเรียนรู้และเชื่อมโยงเข้าสู่การสอนโดยเป็นกิจรรม 6กิจกรรมที่ครูควรจัด
ขั้นสอน : เรื่องกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
- กิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง คำคล้องจอง เครื่องเคาะจังหวะ และอุปกรณ์อื่นๆประกอบการเคลื่อนไหว
- กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกความคิกริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ
- กิจกรรมเล่นเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามศูนย์การเรียน ที่จัดไว้ ภายในศูนย์เด็กเล็กเช่น ศูนย์บล็อก ศูนย์หนังสือ ศูนย์ร้านค้า ศูนย์บ้าน เป็นต้น
- กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ
- กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
      กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้มีอยู่ในหลักสูตรการศึกษา แต่ในการจัดกิจกรรมครูควรคำนคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย
 
 
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ รูปทรงและทิศทางของการเคลื่อนไหว สัญลักษณ์  การนับจำนวน เรียนรู้แบบรูป และการจับคู่แบ่งกลุ่ม
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  เด็กได้ออกแบบท่าทางรูปทรง ทิศทางการเคลื่อนไหวเด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเล่นเสรี  เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เด็กเรียนรู้เรื่องการนับ ความช้า เร็ว ความสูง ขนาด ทิสทางการแกว่ง เช่น การเล่นชิงช้า
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเกมการศึกษา 
1. เกมจับคู่
- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพเงา
- จับคู่ภาพสัมพันธ์
- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
- จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับระยะเวลา(อธิบายเพิ่มเติมในครั้งหน้า)


การนำไปประยุกต์ใช้ : จากที่ได้เรียนรู้มาทำให้เรารู้จักในหลักการจัดกิจกรรมให้เด็กได้อย่างเหมาะสมตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้และสามารถนำไปพัฒนาเด็กได้ตรงตามความต้องการของเด็ก จึงทำให้เดรารู้จักการคิดวางแผนในเรื่องการเรียนการสอนตรงตามความต้องการของเด็ก


การประเมินผล :
ตนเอง : ตั้งใจเรียนและร่วมตอบคำถามกับอาจารย์ได้เป็นอย่างดี และค้นพบด้วยตนเองว่าอาชีพที่เหมาะสมกับตนมากที่สุดคือครูปฐมวัยมากที่สุด
เพื่อน : วันนี้เพื่อนร่วมกลุุ่มมาเรียนกันค่อนข้างน้อยแต่ทุกคนก็สนใจเรียนด้วยความตั้งใจ
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ให้นักศึกษากล้าพูดกล้าตอบและแสดงความคิดเห็นโดยอาจารย์ไม่คัดค้านความคิดของใคร